วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 10)

1. Digital Subscriber Line หมายถึง อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างหนึ่ง ผ่านทางสายโทรศัพท์ แต่เรายังคงใช้โทรศัพท์พร้อมกันได้ด้วย มีอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกันคือ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)


2. เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจเรียกสั้น ๆ ว่า บราวเซอร์มีหน้าที่ติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลที่ต้องการมาแสดงที่หน้าจอของโปรแกรม ประเภทนี้ ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Internet Explorer โปรแกรม Netscape Navigator และโปรแกรม Opera


3. ISDN หมายถึง Integrated Service Digital Network มาตราฐานการติดต่อความเร็วสูงอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ส่งสัญญาณเสียง วีดีโอ ทางสายดิจิตอล


4. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้


5. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน 


6. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป 


7. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ


8. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น 


9. ประเภท Worm ลักษณะที่หนอนใช้ส่งจะประกอบไปด้วยข้อความต่างๆ แล้วตามด้วยไฟล์ Image.zip และสามารถแพร่กระจายผ่านทางโปรแกรมสนทนา MSN Messenger


10. DSS (Digital Signature Standard) คือมาตราฐานการสร้างรหัสเพื่อยืนยันตัวผู้ส่งข้อมูล โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้กำหนดขึ้น เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลนั้นถูกส่งมาจากใคร โดยผู้อื่นไม่สามารถปลอมแปลงได้

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 9)

1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่มีความสามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้การติดต่อจะผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่นๆได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น 


2. Personal Computer หรือ PC (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) หรือ ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือแบบพก ที่ขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) PC ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2. ซอฟต์แวร์ (Software) 3.อุปกรณ์รับ-แสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ , จอภาพ , เครื่องพิมพ์ , ลำโพง ฯลฯ 


3. Resource คือความสามารถในการใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีราคาสูงร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk),ปริ๊นเตอร์ (Printer) เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hard ware) เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ของระบบเครือข่าย 


4.Maintenance คือการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น 


5. Per User License หมายถึง Software ที่จะต้องระบุจำนวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใด แต่ในการทำงานจริง ๆ แล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอนสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แยกกันก็คือ ในกรณีที่เราต้องการข้อมูลของคอมพิวเตอร์ (PC) เครื่องหนึ่ง จะต้อง Copy ลงในแผ่น Disk แล้วนำไปเรียกใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) อีกเครื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่หรือต้องการข้อมูลร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้เสียเวลาในการ Copy ข้อมูลมาก ถ้านำระบบ Network มาใช้งานข้อมูล User แต่ละคนจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกันก็คือ Harddisk ของ File Server ดังนั้น User แต่ละคนจะสามารถใช้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้ทันที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิ์ในการเรียกใช้ข้อมูลของแต่ละ User ซึ่งจะสามารถกำหนดไว้ว่า User คนใดจะสามารถใช้งานข้อมูลได้ถึงระดับใดบ้าง 


6. Schedule หรือ Group Calendar เป็นโปรแกรมที่รวบรวมปฏิทินรายวันของ User แต่ละคนมารวมกันเป็นตาราง (Schedule) ของทั้งระบบ ทำให้ผู้จัดการระบบสามารถทราบนัดหมายต่าง ๆ ของ User แต่ละคนได้ และวางแผนการได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น WordPerfect Office เป็นต้น


7. AUTHORING TOOL เครื่องมือใช้ในการสร้างเอกสารจำพวก HTML เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ใน www


8. FIREWALL คือ กำแพงไฟ เป็นได้ทั้งซอร์ฟแวร์และฮาร์ดแวร์ สำหรับป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอกเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา


9. SPAM MAIL Email ที่ถูกส่งมายังผู้รับ โดยผู้รับไม่ได้ยินยอม โดยมีลักษณะคือส่งมาบ่อย ๆ และมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายสินค้าและบริการ


10. Voice Over Internet Protocal หมายถึง การใช้โทรศัพท์ผ่านทางเครือข่ายอินเดอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 8)

1. HTML (Hypertext Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาสำหรับ กำหนดรูปแบบง่ายๆ ของเอกสาร ที่จะถูกแสดงโดย บราวเซอร์ ในระบบ อินเทอร์เน็ต



2. IP telephony ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นระบบที่รวมเอา การติดต่อสื่อสาร ข้อมูลประเภทต่างๆ เช่นข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลเสียงและภาพ เข้าด้วยกัน ผ่านโครงข่าย ที่ส่งข้อมูลแบบเป็นกลุ่ม (packet) ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ตนี้ ช่วยเพิ่มคุณค่า ให้กับเครือข่าย บริการรูปแบบใหม่ เหล่านี้ ด้วยการอาศัย การส่งข้อมูลประเภทต่างๆ เหล่านี้รวมกัน บนเส้นทางเชื่อมต่อเดียว ทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และสาขาย่อยต่างๆ สามารถลดค่าใช้จ่าย สำหรับระบบเครือข่าย เสียงและข้อมูล ได้เป็นอย่างมาก


3. ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นโปรโตคอล สำหรับสื่อสาร ที่ให้บริการ โดยบริษัทโทรศัพท์พื้นฐานต่างๆ สามารถให้บริการ เชื่อมต่อความเร็วสูง ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย ในสถานที่ต่างๆ ได้


4. Packet เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีการรับส่งกันอยู่ ภายในเครือข่าย ที่มีการเติม "เฮดเดอร์" ซึ่งเป็นข้อมูล ที่บอกถึงลักษณะ ของข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายใน และปลายทางของ แพ็คเก็ต เราสามารถเปรียบ แพ็คเก็ต ได้กับ "ซองใส่ข้อมูล" โดยที่มีส่วนเฮดเดอร์ เปรียบได้กับที่อยู่


5. PCI Peripheral Component Intercnnect มาตราฐานการเชื่อม หรือ อินเตอร์เฟส แบบใหม่ที่ให้ความเร็วสูงกว่า ISA แล EISA


6. PROXY SERVER เซอร์เวอร์หรือโฮสต์ ใช้สำหรับเพิ่มความเร็วในการเล่นเน็ต โดยเก็บข้อมูลใน proxy server ทำให้ผู้ใช้รายอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องไปค้นหาข้อมูลในต่างประเทศอีก


7. WEBMASTER ชื่อตำแหน่งของผู้ที่สร้าง ดูแล จัดการ web ทั้งนี้อาจหมายถึงเข้าของ web ก็ได้


8. Database Server เป็นประเภทหนึ่งของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการต่างๆ เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server


9. NIC (Network Interface Card) หรือบางทีเรียกว่า แลนการ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้


10. NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการหรือ OS ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ก็จะรันโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้ ระบบเครือข่ายก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS เพื่อทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย และการเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ฐานข้อมูล เป็นต้น


วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 7)

1. ADSL (Asymmetric DSL) หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย


2.Backbone เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน


3. Bandwidth แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า


4. Client ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์


5. DNS (Domain Name Server) การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet


6. DSL (Digital Subscriber Line) หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้


7. Fast Ethernet เป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX


8. FDDI (Fiber Distributed Data Interface) หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่


9. Frame Relay เป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล


10. Gigabit Ethernet เป็นระบบอีเธอร์เน็ต รุ่นล่าสุด ที่สามารถทำกา รส่งข้อมูล ที่ความเร็วถึง 1000 เมกะบิต (1 กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งเร็วกว่า อีเธอร์เน็ต แบบดั้งเดิม ถึง 100 เท่า แต่ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ยังใช้โปรโตคอล CSMA/CD และ Media Access Control (MAC) ที่เหมือนกัน ระบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ตนี้ เป็นคู่แข่งโดยตรง กับ ระบบ ATM และทำให้ หมดยุคของระบบ FDDI และ Token Ring ไปโดยปริยาย

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 6)

1. แบบอ้างอิง OSI (OSI Reference model) เป็นแบบจาลองที่อธิบายถึงโครงสร้างการทางานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน โดยได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นในปี 1984 โดย Open Systems Interconnect 



2. Layer1: Physical Layer  เป็นเลเยอร์ล่างสุดสาหรับจัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และกลไกการทางานในการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย เป็นนิยามของความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างอุปกรณ์ฐานล่างและเลเยอร์ในระดับกลาง


3. Layer2: Data Link Layer เป็นเลเยอร์สาหรับการจัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย และตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นใน Physical Layer แรกเริ่มนั้นเลเยอร์นี้จะกล่าวถึงในระบบโทรศัพท์ ที่มีการสื่อสารจากตาแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง หรือจากตาแหน่งหนึ่งไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณ จากนั้นจึงพัฒนาต่อมาจนถึงในระบบแลน (LAN) ด้วย ซึ่งมีรูปแบบการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่า สาหรับโปรโตคอลที่อยู่ในเลเยอร์นี้ก็คือ TCP (Transport Control Protocol) ที่ทำหน้าที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารกันได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



4. Layer3: Network Layer  เป็นเลเยอร์ที่จัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางภายในเครือข่าย โดยการดาเนินการจะทาการรับข้อมูลที่ส่งออกจากต้นทาง และรวมข้อมูลหรือแยกส่วนข้อมูลมาเป็นแพ็กเกจ (Package) และเพิ่มข้อมูลตาแหน่งปลายทางที่ส่วนหัวของแพ็กเกจเพื่อใช้ในการส่ง

โปรโตคอลที่รู้จักกันดีซึ่งอยู่ในเลเยอร์นี้ คือ IP (Internet Protocol) ซึ่งจะคอยจัดการเส้นทางการเดินทางของข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


5. Layer4: Transport Layer เป็นเลเยอร์ที่ทาหน้าที่จัดเตรียมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน จัดเตรียมข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้กับเลเยอร์ถัดไป โดยควบคุมความถูกต้องในการเดินทางของข้อมูล และความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

สาหรับโปรโตคอลที่ทางานอยู่บนเลเยอร์นี้ ก็เช่น TCP (Transmission Control Protocol) และ UDP (User Datagram Protocol) 


6. Layer5: Session Layer  เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมเซสชั่น (Session) การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จัดการการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งแบบ Full-duplex, Half-duplex และ Simplex โดยมีกระบวนการสร้างจุดตรวจสอบ การเคลื่อนย้ายเซสชั่น การจัดการ และการเริ่มต้นเซสชั่นใหม่ ถูกนาไปใช้เป็นส่วนของแอพพลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้งานเกี่ยวกับกระบวนการ Remote Procedure Calls (RPC)


7.Layer6: Presentation Layer  เป็นเลเยอร์สาหรับจัดเตรียมการรับและจัดโครงสร้างของข้อมูล เพื่อส่งต่อให้เลเยอร์ถัดไป โดยอาจมีการแปลข้อความที่ได้เป็นโค้ด หรือมีการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลตามคาสั่งที่ได้รับ โดยกาหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text, EBCDIC, Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส (Encryption) ก็รวมอยู่ในเลเยอร์นี้ด้วย


8.Layer7: Application Layer  เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นการจัดเตรียมแอฟฟลิเคชั่นไว้ให้คอยบริการใช้งาน รูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย ซึ่งจะร้องขอจาก Presentation Layer เพื่อดาเนินการตามกระบวนการลงไปชั้นเลเยอร์ต่างๆ สาหรับบริการโปรโตคอลที่เกี่ยวกับเลเยอร์นี้ เช่น FTP (File Transfer Protocol) Mail Transfer (SMTP/POP3/MAP Protocol) และเว็บเบราเซอร์ที่ทางานอยู่บน HTTP (Hypertext Markup Language Protocol)


9. มาตรฐาน IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นองค์กรสากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน


10.มาตรฐาน Fast Ethernet ได้รับการพัฒนาให้สามารถเพิ่มความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลที่ 100 Mbps ซึ่งยังคงเป็นมาตรฐานหลักในปัจจุบัน เหมาะสาหรับการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบ้าน หรือสานักงานขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยชื่อมาตรฐานของ Fast Ethernet แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 100Base-T ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ไร้สายเชื่อมต่อจาพวกสายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีฉนวน (UTP: Unshielded Twisted Pair) และ 10BaseFXที่ใช้สายใยแล้วนาแสง (Fiber Optic) ในการเชื่อมต่อ

การออกแบบระบบเครือข่ายร้านอินเตอร์เน็ต 30 เครื่อง

ระบบเครือข่ายร้านอินเตอร์เน็ต 30 เครื่อง


วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 5)

1. เครือข่ายท้ องถิ่น (Local Area Network: LAN) เป็ นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไปเครือข่ายแบบ LANอาจเป็นไดตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มี คอมพิวเตอร์ เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกร์เครือข่ายอีกมาก



2. Metropolitan Area Network: MAN คือ เครือข่ายในเขตเมือง เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแลน เป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือจังหวัดเดียวกัน โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน 


3.Wide Area Network: WAN คือ เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน


4. Token Ring เป็นการต่อ LAN ในแบบ ring และใช้การควบคุมแบบ token-passing ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม โดยในรุ่นแรกๆ จะมีความเร็วเพียง 4 Mbps แต่ต่อมาได้ปรับปรุงเป น 16 Mbps สายที่ใช้จะเป็นแบบพิเศษมี 2 คู่ต่อเข้ากับอุปกรณ์รวมสายที่เรียกว่า MAU (Multiple Access Unit) ซึ่ง 1 ตัวต่อได้ 8 เครื่อง และพ่วงระหว่าง MAU แต่ละตัวเข้าด้วยกันได้อีก


5. ATM เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่กำหนดโดย ITU-T (Internation Telecommunication Union-Telecommunication Standard Sector) ซึ่งจะรวมบริการต่างๆ เช่น ข้อมูลเสียง วิดีโอเข้าด้วยกันแล้วส่งเป็นเซลล์(Cell) ข้อมูลที่มีขนาดเล็กและคงที่ เป็นเครือข่ายที่รองรับแบนด์วิธตั้งแต่ Mbps จนถึง Gbps ปัจจุบันยังมีการใช้ ATM ไมมากเท่ากับอีเธอร์เน็ต


6. Peer to Peer Network เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้


7. Client/Server Network คือ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ


8. Internet คือ เครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ


9. Intranet คือ เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ,อีเมล, FTP เป็นต้น เป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ต


10.Extranet คือ เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร

การออกแบบระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่

ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก



 ระบบเครือข่ายขนาดกลาง



ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่




วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 4)


1. เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากกว่าเราท์เตอร์หรือบริดจ์ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลใน Data link และ Network Layer ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2 ระบบ การทางานของเกตเวย์ทุกระดับชั้นจะเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/OSI Model


2. DCE (Data Communication Equipment) เป็นอุปกรณ์ในการรับ/ส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม Fibrotic Infrared Wireless เป็นต้น




3. การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบเบสแบนด์ (Baseband) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสาหรับการส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้การส่งสัญญาณชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถจัดการควบคุมง่าย


4. การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบบรอดแบนด์ (Broadband) เป็นการใช้ช่องทองการสื่อสารหลายช่องทางเพื่อส่งสัญญาณอนาล็อก โดยแต่ละครั้งข้อมูลสามารถจัดส่งหรือลาเลียงบนช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการส่งสัญญาณชนิดนี้จะมีระบบการจัดการที่ยุ่งยากกว่าการส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์มาก


5. คลื่นวิทยุ (Cellular Radio) ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วค่อนข้างต่า อีกทั้งไวต่อสัญญาณรบกวน แต่ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง สะดวกต่อการใช้งาน และผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย


6. สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม 1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3ของพื้นผิวโลก


7. คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่ รับสัญญาณประมาณ 30 - 50 กม.


8. ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน


9. อินฟราเรด (Infrared) ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมนามาใช้งานสาหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


10.Application Server/ Database Server คือ เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 3)


1. ISAM : วิธีเข้าถึงลำดับดรรชนี เป็นวิธีที่จะเข้าถึงลำดับดรรชนีโดยตรงโดยผานทางการคีย์ข้อมูลหรือตัวอักขระ

2. micro-to-mainframe linkage : ตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ เป็นผลจากการติดต่อระหว่างเมนเฟรมระบบคอมพิวเตอร์ การค้าหาข้อมูลในแผ่นดิสก์ของผู้ใช้

3. primary storage section : หน่วยเก็บหลัก เป็นหน่วยเก็บหลักอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์และเป็นหน่วยความจำหลักอยู่ในส่วนของ CPU ทำการรับข้อมูล นำข้อมูลออกในระหว่างการประมวลผล

4. สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวี คือ มีแกนเป็นทองแดงห่อหุ้มด้วยฉนวน แล้วหุ้มด้วยตาข่ายโลหะ ชั้นนอกสุดเป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ สายประเภทนี้นิยมใช้มากในเครือข่ายสมัยแรกๆ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว 

5. สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) เป็นสายสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในระบบเครือข่ายปัจจุบัน สายสัญญาณจะประกอบด้วยสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นแล้วบิดเป็นเกลียว เหตุที่บิดเป็นเกลียวก็เพื่อลดสัญญาณรบกวน

6. สายใยแก้วนาแสง (Fiber Optic) เป็นสายที่ใช้แสงเป็นสัญญาณ และแก้วหรือพลาสติกใสเป็นสื่อนาสัญญาณ ในขณะที่สายคู่เกลียวบิดและสายโคแอ็กเชียลใช้สัญญาณไฟฟ้าและโลหะเป็นสื่อ ข้อเสียของสายสัญญาณประเภทโลหะคือ จะถูกรบกวนจากแหล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ ได้ง่าย เช่น ฟ้าผ่ามอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น แต่สายใยแก้วนาแสงใช้สัญญาณแสง ดังนั้นจึงไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงทาให้สายใยแก้วนาแสงสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราสูงและระยะไกลกว่า แต่การผลิต การติดตั้งและดูแลรักษาจะยุ่งยาก และราคาแพงกว่าสายที่เป็นโลหะ

7.ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องจานวนมากเข้าด้วยกันในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยที่ฮับจะมีพอร์ต (Port) หรือช่องสาหรับต่อสาย RJ-45 เข้ามาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการกระจายข้อมูล ไปยังเครื่องอื่นๆ ในระบบเครือข่าย ความเร็วของฮับมีหน่วยเป็น Megabit per second (Mbps)

8. สวิตช์ (Switch) สวิตช์เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายลักษณะเดียวกับฮับและมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่วงจรการทางานภายในจะใช้หลักการของวงจรสวิตชิ่งที่สลับการส่งข้อมูลในแต่ละพอร์ตไปมา ไม่ได้แบ่งช่องทางการส่งผ่านข้อมูลเหมือนฮับจึงทาให้แต่ละพอร์ต (Port) มีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูง

9. รีพรีทเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิล 2 เส้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย สายสัญญาญแต่ละชนิดที่เลือกใช้จะมีความสามารถในการขนส่งข้อมูลไปในระยะทางที่จำกัดระยะหนึ่ง ตามมาตรฐานของสายสัญญาณแต่ละชนิด จากนั้นสัญญาณข้อมูลจะถูกดูดกลืนไปตามสายทาให้สัญญาณข้อมูลอ่อนลง หากต้องการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายออกไปไกลเกินกว่าสายสัญญาณที่ใช้จะรองรับได้จะต้องใช้รีพีตเตอร์ช่วยในการขยายสัญญาณข้อมูล

10. เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เสมือนสะพานสาหรับเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่น หรือระบบเครือข่าย LAN (Local Area Network) เข้ากับระบบเครือข่าย WAN (Wide Area Network) ขนาดใหญ่


วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 2)

1. 4G Standard คือ เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที 



2. Hybrid Cloud Computing คือ Hybrid Cloud หรือคลาวแบบลูกผสมระหว่าง Private Cloud กับ Community Cloud หรือ Public Cloud แต่ในเรื่องของการทำงานหรือใช้งานแล้ว ก็ต่างคนต่างทำงานแบบอิสระต่อกัน แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ตามต้องการ


3. Virtual Worlds คือ โลกเสมือน 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ทต่างๆ โดยเน้นให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้ทั่วโลก ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย อิทธิพลของ Virtual World ส่งผลให้เด็กและเยาวชน และผู้ใหญ่เอง เกิดความหลงใหล มีจำนวนผู้เข้าไปในโลกแห่งนี้ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โลกเสมือน 3 มิติหรือโลกเสมือนจริง


4. Time sharing คือ การแบ่งเวลาการใช้เวลา ใช้อุปกรณ์ทางด้าน Hardware โดยสามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันโปรแกรมหรือบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ในเวลาเดียวกันนั้นก็สามารถโต้ตอบกันได้


5. Virtual storage คือ หน่วยเก็บเสมือน เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองและเป็นโปรแกรมพิเศษในการทำงานส่วนหนึ่งของโปรแกรม ซึ่งจะส่งผลผ่านไปในระบบ ส่งจากหน่วยเก็บข้อมูลภายในไปแสดงผลภายนอก


6. facsimile system คือ ระบบโทรภาพ, โทรสาร เป็นระบบที่ผู้ใช้สื่อสารทางรูปภาพ ต้นฉบับและแผนที่และอื่นๆ ระหว่างทางภูมิศาสตร์ ตามส่วนแยกหัวข้อ รูปภาพที่สแกนเป็นสื่อของหัวข้อและภาพจำลองความคิดของเรื่อง


7. full duplex transmission คือ การสื่อสารสองทางเต็มอัตราข้อมูล บนทางการติดต่อจะถูกส่งไปพร้อมกัน เวลาที่ซึ่งข้อมูลสามารถสื่อสารกันมันจะไหลในคำสั่งทั้งสองในเวลาเดียวกัน


8. front-end processor คือ ตัวประมวลผลส่วนหน้า ซีพียูของโปรแกรมจะทำหน้าที่เป็นตัวประมวลผลระหว่างส่วนหน้าเป็นส่วนใหญ่และมีกลไกความสามารถหลายชนิดซึ่งจะอยู่รอบนอกของโปรแกรม


9. half-duplex transmission คือ การสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา ข้อมูลบนทางการติดต่อจะถูกส่งไปทางเดียวกัน แต่จะมีข้อมูลส่งไปสลับกันในระยะเวลาที่ต่างกันข้อมูลไม่สามารถที่จะส่งไปในเวลาเดียวกัน


10. management information system คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศในพื้นฐานของคอมพิวเตอร์จะทำการดูทำเค้าโครงเหมือนการจัดการในสารสนเทศมีแผนจัดการเส้นแสดง แนะนำทำการแสดงผลของระบบภายในอวัยวะของร่างกาย

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 1)


1. ISDN หมายถึง Integrated Service Digital Network มาตราฐานการติดต่อความเร็วสูงอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ส่งสัญญาณเสียง วีดีโอ ทางสายดิจิตอล


2. MIMO (Multiple in, multiple out) คือ เทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่สามารถเพิ่มช่องส่งสัญญาณและพื้นที่ได้โดยใช้เสาอากาศหลายๆ ตัว ( Wireless Technology)


3. DSS (Digital Signature Standard) คือมาตราฐานการสร้างรหัสเพื่อยืนยันตัวผู้ส่งข้อมูล โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้กำหนดขึ้น เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลนั้นถูกส่งมาจากใคร โดยผู้อื่นไม่สามารถปลอมแปลงได้


4. GUEST BOOK หมายถึง สมุดลงนาม ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั้น ๆ ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง


5. Social Analytics คือ การเปรียบเทียบ วิเคราะห์ แปลความหมายของปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เราจะพบความสามารถดังกล่าวในซอฟต์แวร์ระบบสังคมซึ่งจะถูกใช้ในการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร และบน Social Web


6. Speech to Speech Translation คือ ระบบล่ามอิเล็กทรอนิกส์เป็นเทคโนโลยีใหม่ ในอุตสาหกรรม การแปลเป็นการร่วมงานวิจัยพื้นฐานทางด้านการประมวลผลข้อความ และเสียงพูดเข้าด้วยกัน โดยรับอินพุตเป็นเสียงพูดในภาษาหนึ่ง และทำการแปลเป็นเสียงพูดในอีกภาษาหนึ่ง เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือช่วย ในการติดต่อสื่อสารต่างๆ เช่นในการท่องเที่ยว ในการศึกษาและทางการทหารภายใต้โครงการนี้ จะมีการวิจัยและพัฒนาพื้นฐานทางภาษาศาสตร์คำนวณการพัฒนาคลังข้อมูล และเครื่องมือพื้นฐานทางภาษา ส่วนประกอบหลักได้แก่ ระบบรู้จำเสียง พูด ระบบแปลภาษาและระบบสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทยโดยมีความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินโดนีเซีย และอินเดีย ภายใต้ชื่อกลุ่ม Asian Speech Translation Advanced Research Consoritum (A-STAR)


7. Internet TV คือ ทีวีที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เนตและสามารถใช้งานอินเทอร์เนตได้ (แบบเดียวกับที่เราใช้งานอินเทอร์เนตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องโน๊ตบุ๊ค) และสามารถใช้ระบบสืบค้น ค้นหา รายการข่าว รายการเพลง รายการกีฬา ละคร ภาพยนต์ รูปภาพ ฯลฯ และแสดงผลผ่านทางหน้าจอแสดงผล


8. 3D Printing คือ 3D Printer คือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่สามารถพิมพ์สิ่งของจากคอมพิวเตอร์ให้ออกมาแบบ 3 มิติ เพื่อใช้ในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานทางด้านการออกแบบ งานหล่อโลหะ งานทางด้านสถาปัตยกรรม งานทางด้านวิศวกรรม ฯลฯ


9. sCRM คือ Social CRM หมายถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าบนสังคมออนไลน์ (Social Customer Relationship Management) เป็นเครื่องมือที่กำลังเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนเสริมให้กับการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบดั้งเดิม ซึ่ง


10. RFID (Radio Frequency Identification คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยคลื่นวิทยุ ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น บาร์โค้ดที่อาศัยคลื่นแสง หรือการสแกนลายนิ้วมือ เป็นต้น ในบทนี้จะอธิบายให้เข้าใจถึงหลักการของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี และแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้