วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 7)

1. ADSL (Asymmetric DSL) หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย


2.Backbone เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน


3. Bandwidth แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า


4. Client ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์


5. DNS (Domain Name Server) การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet


6. DSL (Digital Subscriber Line) หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้


7. Fast Ethernet เป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX


8. FDDI (Fiber Distributed Data Interface) หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่


9. Frame Relay เป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล


10. Gigabit Ethernet เป็นระบบอีเธอร์เน็ต รุ่นล่าสุด ที่สามารถทำกา รส่งข้อมูล ที่ความเร็วถึง 1000 เมกะบิต (1 กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งเร็วกว่า อีเธอร์เน็ต แบบดั้งเดิม ถึง 100 เท่า แต่ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ยังใช้โปรโตคอล CSMA/CD และ Media Access Control (MAC) ที่เหมือนกัน ระบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ตนี้ เป็นคู่แข่งโดยตรง กับ ระบบ ATM และทำให้ หมดยุคของระบบ FDDI และ Token Ring ไปโดยปริยาย

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 6)

1. แบบอ้างอิง OSI (OSI Reference model) เป็นแบบจาลองที่อธิบายถึงโครงสร้างการทางานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน โดยได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นในปี 1984 โดย Open Systems Interconnect 



2. Layer1: Physical Layer  เป็นเลเยอร์ล่างสุดสาหรับจัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และกลไกการทางานในการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย เป็นนิยามของความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างอุปกรณ์ฐานล่างและเลเยอร์ในระดับกลาง


3. Layer2: Data Link Layer เป็นเลเยอร์สาหรับการจัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย และตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นใน Physical Layer แรกเริ่มนั้นเลเยอร์นี้จะกล่าวถึงในระบบโทรศัพท์ ที่มีการสื่อสารจากตาแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง หรือจากตาแหน่งหนึ่งไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณ จากนั้นจึงพัฒนาต่อมาจนถึงในระบบแลน (LAN) ด้วย ซึ่งมีรูปแบบการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่า สาหรับโปรโตคอลที่อยู่ในเลเยอร์นี้ก็คือ TCP (Transport Control Protocol) ที่ทำหน้าที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารกันได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



4. Layer3: Network Layer  เป็นเลเยอร์ที่จัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางภายในเครือข่าย โดยการดาเนินการจะทาการรับข้อมูลที่ส่งออกจากต้นทาง และรวมข้อมูลหรือแยกส่วนข้อมูลมาเป็นแพ็กเกจ (Package) และเพิ่มข้อมูลตาแหน่งปลายทางที่ส่วนหัวของแพ็กเกจเพื่อใช้ในการส่ง

โปรโตคอลที่รู้จักกันดีซึ่งอยู่ในเลเยอร์นี้ คือ IP (Internet Protocol) ซึ่งจะคอยจัดการเส้นทางการเดินทางของข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


5. Layer4: Transport Layer เป็นเลเยอร์ที่ทาหน้าที่จัดเตรียมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน จัดเตรียมข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้กับเลเยอร์ถัดไป โดยควบคุมความถูกต้องในการเดินทางของข้อมูล และความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

สาหรับโปรโตคอลที่ทางานอยู่บนเลเยอร์นี้ ก็เช่น TCP (Transmission Control Protocol) และ UDP (User Datagram Protocol) 


6. Layer5: Session Layer  เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมเซสชั่น (Session) การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จัดการการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งแบบ Full-duplex, Half-duplex และ Simplex โดยมีกระบวนการสร้างจุดตรวจสอบ การเคลื่อนย้ายเซสชั่น การจัดการ และการเริ่มต้นเซสชั่นใหม่ ถูกนาไปใช้เป็นส่วนของแอพพลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้งานเกี่ยวกับกระบวนการ Remote Procedure Calls (RPC)


7.Layer6: Presentation Layer  เป็นเลเยอร์สาหรับจัดเตรียมการรับและจัดโครงสร้างของข้อมูล เพื่อส่งต่อให้เลเยอร์ถัดไป โดยอาจมีการแปลข้อความที่ได้เป็นโค้ด หรือมีการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลตามคาสั่งที่ได้รับ โดยกาหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text, EBCDIC, Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส (Encryption) ก็รวมอยู่ในเลเยอร์นี้ด้วย


8.Layer7: Application Layer  เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นการจัดเตรียมแอฟฟลิเคชั่นไว้ให้คอยบริการใช้งาน รูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย ซึ่งจะร้องขอจาก Presentation Layer เพื่อดาเนินการตามกระบวนการลงไปชั้นเลเยอร์ต่างๆ สาหรับบริการโปรโตคอลที่เกี่ยวกับเลเยอร์นี้ เช่น FTP (File Transfer Protocol) Mail Transfer (SMTP/POP3/MAP Protocol) และเว็บเบราเซอร์ที่ทางานอยู่บน HTTP (Hypertext Markup Language Protocol)


9. มาตรฐาน IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นองค์กรสากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน


10.มาตรฐาน Fast Ethernet ได้รับการพัฒนาให้สามารถเพิ่มความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลที่ 100 Mbps ซึ่งยังคงเป็นมาตรฐานหลักในปัจจุบัน เหมาะสาหรับการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบ้าน หรือสานักงานขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยชื่อมาตรฐานของ Fast Ethernet แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 100Base-T ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ไร้สายเชื่อมต่อจาพวกสายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีฉนวน (UTP: Unshielded Twisted Pair) และ 10BaseFXที่ใช้สายใยแล้วนาแสง (Fiber Optic) ในการเชื่อมต่อ

การออกแบบระบบเครือข่ายร้านอินเตอร์เน็ต 30 เครื่อง

ระบบเครือข่ายร้านอินเตอร์เน็ต 30 เครื่อง


วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 5)

1. เครือข่ายท้ องถิ่น (Local Area Network: LAN) เป็ นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไปเครือข่ายแบบ LANอาจเป็นไดตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มี คอมพิวเตอร์ เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกร์เครือข่ายอีกมาก



2. Metropolitan Area Network: MAN คือ เครือข่ายในเขตเมือง เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแลน เป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือจังหวัดเดียวกัน โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน 


3.Wide Area Network: WAN คือ เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน


4. Token Ring เป็นการต่อ LAN ในแบบ ring และใช้การควบคุมแบบ token-passing ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม โดยในรุ่นแรกๆ จะมีความเร็วเพียง 4 Mbps แต่ต่อมาได้ปรับปรุงเป น 16 Mbps สายที่ใช้จะเป็นแบบพิเศษมี 2 คู่ต่อเข้ากับอุปกรณ์รวมสายที่เรียกว่า MAU (Multiple Access Unit) ซึ่ง 1 ตัวต่อได้ 8 เครื่อง และพ่วงระหว่าง MAU แต่ละตัวเข้าด้วยกันได้อีก


5. ATM เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่กำหนดโดย ITU-T (Internation Telecommunication Union-Telecommunication Standard Sector) ซึ่งจะรวมบริการต่างๆ เช่น ข้อมูลเสียง วิดีโอเข้าด้วยกันแล้วส่งเป็นเซลล์(Cell) ข้อมูลที่มีขนาดเล็กและคงที่ เป็นเครือข่ายที่รองรับแบนด์วิธตั้งแต่ Mbps จนถึง Gbps ปัจจุบันยังมีการใช้ ATM ไมมากเท่ากับอีเธอร์เน็ต


6. Peer to Peer Network เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้


7. Client/Server Network คือ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ


8. Internet คือ เครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ


9. Intranet คือ เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ,อีเมล, FTP เป็นต้น เป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ต


10.Extranet คือ เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร

การออกแบบระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่

ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก



 ระบบเครือข่ายขนาดกลาง



ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่




วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์วิชา การบริหารและการจัดการเครือข่าย (ครั้งที่ 4)


1. เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากกว่าเราท์เตอร์หรือบริดจ์ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลใน Data link และ Network Layer ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2 ระบบ การทางานของเกตเวย์ทุกระดับชั้นจะเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/OSI Model


2. DCE (Data Communication Equipment) เป็นอุปกรณ์ในการรับ/ส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม Fibrotic Infrared Wireless เป็นต้น




3. การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบเบสแบนด์ (Baseband) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสาหรับการส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้การส่งสัญญาณชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถจัดการควบคุมง่าย


4. การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบบรอดแบนด์ (Broadband) เป็นการใช้ช่องทองการสื่อสารหลายช่องทางเพื่อส่งสัญญาณอนาล็อก โดยแต่ละครั้งข้อมูลสามารถจัดส่งหรือลาเลียงบนช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการส่งสัญญาณชนิดนี้จะมีระบบการจัดการที่ยุ่งยากกว่าการส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์มาก


5. คลื่นวิทยุ (Cellular Radio) ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วค่อนข้างต่า อีกทั้งไวต่อสัญญาณรบกวน แต่ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง สะดวกต่อการใช้งาน และผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย


6. สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม 1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3ของพื้นผิวโลก


7. คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่ รับสัญญาณประมาณ 30 - 50 กม.


8. ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน


9. อินฟราเรด (Infrared) ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมนามาใช้งานสาหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


10.Application Server/ Database Server คือ เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server